มว.ร่วมบูรณาการ 2 หน่วยงาน ตั้ง 6 สถานีด้านพิกัดฯประเมินพื้นที่เสี่ยงภัย ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ในช่วงหstationลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเจอกับพิบัติภัยทางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วมขัง น้ำแล้ง และดินถล่ม ซึ่งนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก แผนบริหารจัดการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อความเสียหายร้ายแรงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าการสำรวจ รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลเพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยมีความคลาดเคลื่อนและล่าช้า เนื่องจากค่าพิกัดและค่าระดับความสูงที่ใช้อ้างอิงมีความคลาดเคลื่อนและอ้างอิงจากกรอบอ้างอิงที่ต่างกัน ส่งผลให้การทำแผนที่น้ำท่วมขังที่ใช้ในการประเมินความเสียหายไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ การดำเนินการล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์

โครงการจัดตั้งสถานีด้านพิกัดและระดับความสูงเพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นโครงการบูรณาการร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงานจาก 2 กระทรวง ประกอบด้วย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)  และ สถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การสร้างฐานข้อมูลเพื่อการทำแผนที่น้ำและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ  การรักษาและถ่ายทอดค่ามาตรฐานด้านเวลาและความถี่ของประเทศ img_8839

และ การประยุกต์ใช้งานข้อมูลค่าพิกัดและเวลาเพื่อ การนำทาง การเข้าช่วยเหลือรวมถึงกู้ภัย ในรูปแบบของการใช้งานแบบเวลาจริง (Real-time) ซึ่งองค์ประกอบของโครงข่าย อยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินงาน ประกอบด้วยการจัดตั้งสถานีฐานอ้างอิงรับสัญญาณ GNSS แบบต่อเนื่อง (GNSS Continuously Operating Reference Station หรือ GNSS CORS) จำนวน 6 สถานี ประกอบด้วย สถานีฐานรับสัญญาณ GNSS เพื่องานด้านพิกัดและเวลามาตรฐานของประเทศ จำนวน 1 สถานี ซึ่งจะทำการติดตั้งเครื่องมือที่ มว. จ. ปทุมธานี เป็นที่แรก จากนั้นจะทำการติดตั้งสถานีฐานรับสัญญาณ GNSS ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำภาคกลาง โดยสถานีฐานดังกล่าวจะตั้งอยู่ที่ศาลากลางหรือสำนักงาน ปภ. ของจังหวัดอีกจำนวน 5 สถานี ได้แก่ จ.อ่างทอง จ.ปราจีนบุรี จ. ฉะเชิงเทรา จ.นครimg_8846ปฐม และ จ.สมุทรปราการ โดยข้อมูลที่ตรวจรับได้จากสถานีฐานทั้ง 6 สถานีนี้จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลมาที่ศูนย์ประมวลผลข้อมูลกลาง (Data Centre) ที่ สสนก. กรุงเทพมหานคร หลังจากที่การติดตั้งเครื่องมือทั้ง 6 สถานีแล้วเสร็จก็พร้อมเปิดบริการได้โดยทันทีโดยสถานีดังกล่าวจะมีการให้บริการค่าแก้ (Correction) และ  เป็นฐานข้อมูลการตรวจรับสัญญาณ GNSS สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการค่าเพื่อประมวลผลแบบ  Post-processing ในแต่ละวันและ  Real-time โดยอัตราในการตรวจรับข้อมูลจะเป็นที่ 1 วินาทีและ 30 วินาที ตามลำดับ

 

นอกจากนี้ค่าที่ได้จากการตรวจรับจากสถานีฐานในโครงข่ายนี้สามารถที่จะประสานงานกัยและบูรณาการเพื่อใช้งานร่วมกับโครงข่ายของสถานีฐานอื่นๆ ภายในประเทศเพื่อให้เกิดเป็นโครงข่ายเพื่อ  การใช้งานที่เป็นประโยชน์สูงสุดในภาคพลเรือนของโครงข่ายรับสัญญาณดาวเทียม GNSS หลายระบบ ในด้านความถูกต้อง (Accuracy) ความเชื่อถือได้ (Reliability) และ การมีให้ใช้งาน (Availability) รวมถึง  การประยุกต์ใช้งานหลักด้านต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นด้าน คุณภาพ (Quality measures) และความแข็งแกร่ง (Integrity) ของสัญญาณจากระบบดาวเทียมนำทางอีกด้วย