มว. พัฒนาศักยภาพมาตรฐานการวัด สนับสนุนนโยบายเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)

foodinnopolisอุตสาหกรรมอาหารถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงของไทย เนื่องด้วยประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ พร้อมทั้งมีพื้นฐานเป็นประเทศเกษตรกรรม มีผลผลิตทางการเกษตรในปริมาณมาก ซึ่งนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร และมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันระดับตลาดโลกสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร ภาครัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดตั้งโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) พร้อมขับเคลื่อน Food Innopolis ในการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้แก่อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม สานพลังประชารัฐ สร้างเศรษฐกิจใหม่ฐานชีวภาพและวัฒนธรรมที่กระจายรายได้อย่างทั่วถึงในห่วงโซ่มูลค่าภาคเกษตรอาหาร สร้างนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าอาหารไทยทั้งกระบวนการ ตั้งแต่พัฒนาวัตถุดิบ การแปรรูปบรรจุภัณฑ์ การตลาดและการตอบโจทย์รสนิยมของผู้บริโภคทั่วโลก

banner-nqi-v2

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะเป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญในงานโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ทางด้านการพัฒนาระบบมาตรวิทยา (M: Metrology) มีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับมาตรฐานการวัดมีความสามารถสอบกลับได้ทางการวัด สร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณภาพและมาตรฐานด้านอาหาร สำหรับปีงบประมาณปี 60 ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเสริมทัพโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ที่สำคัญ ได้แก่

  • โครงการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบอาหารสู่มาตรฐานฮาลาลสากลเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลโลก

halal_logoสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพได้บรรจุแผนงานงานในแผนแม่บทปี 2560-2564 เพื่อเพิ่มศักยภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบอาหารฮาลาลและสนับสนุนให้ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 อันเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคอาหารฮาลาลว่าผลการวัดจากห้องปฏิบัติการเหล่านั้นมีความถูกต้อง สามารถสอบกลับได้ทางมาตรวิทยา และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยมีการบูรณาการร่วมกับ สถาบันอาหาร และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการวัดพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารฮาลาลและหลักสูตรทางด้านมาตรวิทยา เช่น หลักสูตรการประเมินความไม่แน่นอนทางการวัด หลักสูตรการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบ และหลักสูตรการขอการรับรอง ISO/IEC 17025 ให้กับบุคลากรของห้องปฏิบัติการทดสอบอาหารฮาลาลทั้งในสถานประกอบการและห้องปฏิบัติการที่รับวิเคราะห์ทดสอบ (Third Party Laboratories) นอกจากการจัดฝึกอบรมแล้ว ยังมีการจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญ 2 ครั้ง โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้เตรียมตัวอย่างสำหรับโปรแกรมทดสอบความชำนาญและเป็นผู้ให้ค่าอ้างอิง รวมทั้งผลิตวัสดุอ้างอิงรับรองเพื่อรองรับความต้องการวัสดุอ้างอิงรับรองทางด้านการทดสอบอาหารฮาลาล นอกจากนี้ทั้งสามหน่วยงานจะเป็นที่ปรึกษาให้ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโครงการในการขอการรับรอง ISO/IEC 17025 ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในผลการวัดแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกของไทย โดยคาดว่าจะมีห้องปฏิบัติการในสถานประกอบการและห้องปฏิบัติการ Third Party จำนวน ไม่ต่ำกว่า 10 แห่งเข้าร่วมโครงการ โดยคาดการณ์ว่าโครงการนี้จะเป็นการสนับสนุนศักยภาพอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้

  • การพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหารและน้ำดื่ม

%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3ห้องปฏิบัติการการกระจายคลื่นแสง ฝ่ายมาตรวิทยาแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เริ่มเปิดให้บริการสอบเทียบ UVC Meter ในปี 2556 โดยมีขีดความสามารถในการสอบเทียบที่จำกัด กล่าวคือ มีค่าความรับรังสีที่ใช้ในการสอบเทียบต่ำและมีความไม่แน่นอนของการสอบเทียบที่ค่อนข้างสูง ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทั้งภาคอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการทดสอบ และห้องปฏิบัติการสอบเทียบ และในปี 2560 นี้ ห้องปฏิบัติการการกระจายคลื่นแสง ฝ่ายมาตรวิทยาแสง มีโครงการที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการวัดแสงยูวีซีตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนการฆ่าเชื้อในอุตสาหกรรมอาหารและน้ำดื่มโดยแสงยูวี เพื่อเป็นพื้นฐานในการสนับสนุนให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างคลัสเตอร์ เครือข่ายและห่วงโซ่อุปทาน ตามโครงการเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร (Food Innopolis) เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องดื่ม ที่ใช้แสงยูวีซีในการฆ่าเชื้อโรคได้รับคำแนะนำและถ่ายทอดเทคโนโลยีการวัดยูวีซีที่ถูกต้อง เกิดการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ หรือเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้มีโอกาสสูงขึ้นในการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นในต่างประเทศ เกิดการส่งออกสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยลูกค้าจากต่างประเทศมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าที่ส่งออก ประเทศไทยก็จะมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ด้านธุรกิจอาหารที่เพิ่มขึ้นในระดับโลก เป็นการสร้างรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างเมืองไทยให้เป็นครัวโลก ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศดีขึ้น

  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ การขนส่ง การผลิตอาหารแปรรูปและข้าวหอมมะลิไทยให้ปลอดภัยด้วยมาตรวิทยา

%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a72สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิ และฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ การขนส่ง การผลิตอาหารแปรรูป อาหารแปรรูปแช่แข็ง อาหารพร้อมรับประทานและข้าวหอมมะลิไทย ด้วยมาตรวิทยานั้น แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมย่อยดังนี้

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูป อาหารพร้อมรับประทาน มีกิจกรรมย่อย 4 กิจกรรม คือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเครื่องมือวัด, โครงการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง, โครงการรักษาความสามารถของการวัดในช่วงอุณหภูมิ -190 oC ถึง 231 oC เพื่อสนับสนุนการวัดอุณหภูมิแบบสัมผัสในอาหารแช่แข็ง, โครงการจัดทำและพัฒนาระบบการวัดค่า Emissivity เพื่อสนับสนุนการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสในอาหารแช่แข็ง
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการวัดความชื้นข้าวหอมมะลิไทย มีกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม คือ เพิ่มประสิทธิภาพการวัดความชื้นในข้าวหอมมะลิไทยเพื่อการตรวจสอบ, โครงการจัดตั้งเครือข่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีการวัดความชื้นในข้าวหอมมะลิ