มว. เตรียมความพร้อมเพิ่มขีดความสามารถ การสอบเทียบเครื่องมือวัดรังสียูวีซี เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอาหารและน้ำดื่ม

อาหารและน้ำเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์ที่จะช่วยในการเจริญเติบโต ดังนั้น อาหารและน้ำในการบริโภคจะต้องมีคุณภาพและความปลอดภัย ในประเทศไทยเรานั้น ธุรกิจอาหารและน้ำดื่มได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งจำหน่ายภายในประเทศและการส่งออก ดังนั้น จึงต้องมีมาตรฐานมารองรับเพื่อให้เกิดคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ถ้าอาหารและน้ำดื่มไม่ถูกสุขลักษณะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีเครื่องมือวัดรังสียูวีซีเพื่อใช้ในการตรวจสอบแหล่งกำเนิดรังสีที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อโรคได้ ในปัจจุบันมีการนำประโยชน์จากรังสียูวีซีมาใช้อย่างแพร่หลายในการทำลายเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เห็ด รา ยีสต์ เชื้อลีสเตอเรีย และเชื้ออีโคไลที่ปนเปื้อนมากับอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น โดยการใช้หลอดรังสียูวีซีหรือที่เรียกว่า Germicidal lamp ในการฉายรังสีไปที่อาหารและเครื่องดื่มเพื่อฆ่าเชื้อโรค นอกจากนี้ยังมีการใช้งานในห้องเก็บวัตถุดิบ ห้องบรรจุภัณฑ์ และในสายการผลิตเพื่อควบคุมและทำลายเชื้อโรคในอากาศอีกด้วย

ในการตรวจวัดรังสีจะต้องใช้เครื่องมือในการวัดรังสียูวีซี (UVC Meter) ในการตรวจวัดค่าความรับรังสียูวีซี (UVC Irradiance) หรือตรวจวัดปริมาณรังสี (UVC Dose or UVC Radiant Exposure) ว่าได้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงงานและเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเครื่องมือนี้จะต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ ให้ผลการวัดที่มีการสอบกลับได้ของค่าที่วัดไปยังหน่วยวัดพื้นฐานในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การสอบเทียบ (Calibration)

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ โดย ห้องปฏิบัติการการกระจายคลื่นแสง ฝ่ายมาตรวิทยาแสง ในปัจจุบันได้มีบริการสอบเทียบ UVC Meter ให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 แต่ยังมีความคลาดเคลื่อนที่สูงและไม่ครอบคลุมช่วงการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม จึงได้มีการพัฒนาโครงการเพิ่มขีดความสามารถการวัดแสงยูวีซีตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนการฆ่าเชื้อในอุตสาหกรรมอาหารและน้ำดื่ม ให้แก่ ห้องปฏิบัติการทดสอบ ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ และโรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยโครงการนี้มีแผนงาน 3 ปี (พ.ศ. 2560-2562) ในปีแรกได้ดำเนินการจัดหาและพัฒนาความสามารถาทางการวัดในการสอบเทียบยูวีซีที่มีความไม่แน่นอนต่ำกว่า 10% และครอบคลุมพิสัยความรับรังสียูวีซีที่ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมแบบ In-house และการสอบเทียบระบบวัดยูวีซีแบบ Onsite พร้อมทั้งจัดกิจกรรมสัมมนาเผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยี และบทบาทของการวัดที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตอาหาร อีกทั้งประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้กับภาคอุตสาหกรรมอาหารและน้ำดื่ม สำหรับในปีต่อไปจะเป็นการถ่ายทอดค่าการวัดไปยังผู้ประกอบการให้ได้รับการแนะนำถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง

โครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นพื้นฐานในการสนับสนุนให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างคลัสเตอร์เครือข่ายและห่วงโซ่อุปทาน ตามโครงการเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ในด้านอุตสาหกรรมอาหารของโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ซึ่งเป็นซุปเปอร์คลัสเตอร์ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยีได้รับสนับสนุนจากรัฐบาลให้มีการเร่งการขับเคลื่อนอยู่%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3