ประวัติและความเป็นมา

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ได้รับการสถาปนาขึ้นตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พุทธศักราช 2540 ให้เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีระบบบริหารงานเป็นอิสระ (Public Agency) อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และให้เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของชาติให้สอดคล้องกับระบบมาตรวิทยาสากล โดยมีพันธกิจสำคัญคือการพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดต่างๆ ในประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรวิทยา อีกทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541 มีห้องปฏิบัติการอยู่ ณ เทคโนธานี  รังสิต คลองห้า จังหวัดปทุมธานี และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (อาคารห้องปฏิบัติการเสียงและการสั่นสะเทือน พระราม 6)

Timeline NIMT

พ.ศ.2561

พ.ศ.2561

อาคารผลิตวัสดุอ้างอิงรับรอง เป็นอาคาร ๗ ชั้นที่ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ก๊าซ, ห้องปฏิบัติการผลิตวัสดุอ้างอิง, ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อินทรีย์เคมี, ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อนินทรีย์เคมี, ห้องปฏิบัติการเคมีไฟฟ้าและห้องปฏิบัติการชีววิเคราะห์ โดยมีเป้าหมายให้อาคารดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการผลิตวัสดุอ้างอิงในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าวัสดุอ้างอิงจากต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับการผลิตวัสดุอ้างอิง และห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านมาตรวิทยาเคมีที่เพียบพร้อม

พ.ศ.2560

พ.ศ.2560

แผนแม่บทพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) เมื่อ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐

พ.ศ.2559

พ.ศ.2559

พระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๙

พ.ศ.2557

พ.ศ.2557

จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า TRM (Thailand Reference Material)

พ.ศ.2555

พ.ศ.2555

๑๐๐ ปี มาตรวิทยาไทย

พ.ศ.2552

พ.ศ.2552

แผนแม่บทพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๙) เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

พ.ศ.2549

พ.ศ.2549

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง กำหนดมาตรฐานแห่งชาติ เกี่ยวกับหน่วยการวัดปริมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุอ้างอิงที่ใช้ในการวัดปริมาณ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๙

พ.ศ.2549

พ.ศ.2549

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานชื่ออาคารห้องปฏิบัติการว่า “อาคารผดุงมาตร” โดยมีความหมายว่า “อาคารที่อุดหนุนค้ำจุนการวัด” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารผดุงมาตร ในวันจันทร์ที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๙

พ.ศ.2547

พ.ศ.2547

ได้รับการรับรองระบบงานตาม ISO/IEC ๑๗๐๒๕ จาก IA-Japan ใน ๔ สาขาการวัดประกอบด้วย Laser wavelength, Pressure sensitivity level, Sound pressure level, Free-field sound pressure response level เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๗

พ.ศ.2546

พ.ศ.2546

ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO ๙๐๐๑:๒๐๐๐ จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอในขอบข่าย: การให้บริการงานสนับสนุนการสอบเทียบและการฝึกอบรม เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๖

พ.ศ.2546

พ.ศ.2546

สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ(BIPM) ให้การยอมรับความสามารถด้านการวัด (CMCs) ของ มว. ในสาขา Electricity and Magnetism โดยบรรจุข้อมูลลงใน Appendix C ของ Global MRA และเผยแพร่ใน www.bipm.org เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖

พ.ศ.2544

พ.ศ.2544

ได้รับการรับรองระบบงานตาม ISO/IEC ๑๗๐๒๕ จาก DKD Germany ใน ๙ สาขาการวัดประกอบด้วย DC voltage, DC current, DC resistance, AC voltage, AC-DC transfer difference, AC current, Inductance, Frequency เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔

พ.ศ.2542

พ.ศ.2542

ลงนาม CIPM-MRA ณ BIPM ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๒

พ.ศ.2542

พ.ศ.2542

คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนแม่บทพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๕๑)

พ.ศ.2541

พ.ศ.2541
[๑ มิถุนายน ๒๕๔๑] นายประยูร เชี่ยววัฒนา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และเริ่มเปิดดำเนินการ โดยมีที่ทำการชั่วคราว ณ อาคารมาตรวิทยาและศูนย์สารนิเทศวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ถนนพระรามหก กรุงเทพฯ  

พ.ศ.2540

พ.ศ.2540
[วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๐] พระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นที่มาและจุดเริ่มต้นของ “สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)”