High Voltage Laboratory

ห้องปฏิบัติไฟฟ้าแรงสูง

รับผิดชอบการพัฒนาระบบมาตรวิทยาด้านไฟฟ้าแรงสูงของประเทศให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ซึ่งครอบคลุมถึงการจัดหา เก็บรักษา และพัฒนาหน่วยวัดแห่งชาติที่เป็นมาตรฐานด้านการวัดระดับปฐมภูมิ ซึ่งเป็นที่อ้างอิงให้กับกิจกรรมการวัดต่างๆ ในประเทศ การส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ทดสอบ และสอบเทียบระดับทุติยภูมิ มีความสามารถตามมาตรฐานสากล และส่งเสริมสนับสนุนให้กิจกรรมการวัดต่างๆในประเทศมีผลการวัดเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ

มาตรฐานการวัดด้านไฟฟ้าแรงสูง

ประกอบด้วย

  1. DC High Voltage
  2. AC High Voltage
  3. Impulse High Voltage

มาตรฐาน IEC 60060-2: 2010 นั้นแบ่งระบบการวัดไฟฟ้าแรงสูงเป็น 3 ประเภทคือ ระบบการวัดทั่วไป (Measuring System) ระบบการวัดที่ได้รับการรับรอง (Approved Measuring System) และระบบการวัดอ้างอิง (Reference Measuring System) โดยระบบการวัดทั่วไป จะมีความสามารถสอบกลับได้ไปยังระบบการวัดที่ได้รับการรับรอง และระบบการวัดที่ได้รับการรับรอง จะมีความสามารถสอบกลับได้ไปยังระบบการวัดอ้างอิง สุดท้ายระบบการวัดอ้างอิง จะมีความสามารถสอบกลับได้ไปยังมาตรฐานแห่งชาติ หรือมาตรฐานสากล ดังแสดงในรูปที่ 1

Fig1

รูปที่ 1 ความสามารถสอบกลับได้ตามมาตรฐาน IEC 60060-2: 2010

 

เนื่องจากขีดจำกัดของระบบการวัดอ้างอิง มาตรฐาน IEC 60060-2: 2010 ระบุว่าระบบการวัดอ้างอิงสามารถใช้สอบเทียบได้ที่ระดับแรงดันไม่ต่ำกว่า 20 % ของช่วงแรงดันที่กำหนด (Assigned Measurement Range) ของระบบการวัดที่ถูกสอบเทียบ กล่าวคือ ระบบการวัดอ้างอิงพิกัด 100 kV สามารถสอบเทียบระบบการวัดที่มีพิกัดแรงดันไฟฟ้า 500 kV ได้ โดยต้องทำ Linearity Test ในช่วงที่ไม่ได้ทำการสอบเทียบ เพื่อให้ครอบคลุมตลอดช่วงการใช้งาน

การสอบเทียบ (Calibration) ใช้การวัดแบบเปรียบเทียบ (Comparative Measurement) ดังแสดงในรูปที่ 2 กล่าวคือระบบการวัดที่ถูกสอบเทียบจะต่อขนานกับระบบการวัดอ้างอิงของสถาบันมาตรวิทยา แล้วทำการวัดพร้อมกัน จากนั้นนำค่าการวัดที่ได้ไปหาค่าอัตราส่วนการลดทอนแรงดันไฟฟ้าที่กำหนด (Assigned Scale Factor) และ ประเมินค่าความไม่แน่นอนในการวัด (Expanded Uncertainty)

มาตรฐานการวัดไฟฟ้าแรงสูงกระแสตรง (DC High Voltage) คือ ระบบการวัดอ้างอิงที่มีเครื่องมือลดทอนแรงดันไฟฟ้าแบบความต้านทาน เป็นส่วนประกอบหลัก โดยแรงดันไฟฟ้าที่ถูกลดทอนแล้ว จะถูกส่งต่อผ่านสายนำสัญญาณไปยังดิจิตัลมัลติมิเตอร์ความถูกต้องสูง เพื่อทำการวัด และประมวลผล

มาตรฐานการวัดไฟฟ้าแรงสูงกระแสสลับ (AC High Voltage) คือ ระบบการวัดอ้างอิงที่มีเครื่องมือลดทอนแรงดันไฟฟ้าแบบตัวเก็บประจุไฟฟ้า เป็นส่วนประกอบหลัก โดยแรงดันไฟฟ้าที่ถูกลดทอนแล้ว จะถูกส่งต่อผ่านสายนำสัญญาณไปยังมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าแบบค่ายอด เพื่อทำการวัด และประมวลผล

มาตรฐานการวัดไฟฟ้าแรงสูงแบบอิมพัลส์ (Impulse High Voltage) คือ ระบบการวัดอ้างอิงที่มีเครื่องมือลดทอนแรงดันไฟฟ้าแบบตัวเก็บประจุไฟฟ้าหน่วง เป็นส่วนประกอบหลัก โดยแรงดันไฟฟ้าที่ถูกลดทอนแล้ว จะถูกส่งต่อผ่านสายนำสัญญาณไปยังดิจิไทเซอร์ความถูกต้องสูง เพื่อทำการวัด และประมวลผล

Fig2

รูปที่ 2 วงจรสมมูลย์ของวิธีการวัดแบบเปรียบเทียบ

 

  1. Instrument Transformer

การสอบเทียบ (Calibration) ใช้การวัดแบบเปรียบเทียบ (Comparison Measurement) ดังแสดงในรูปที่ 3 สำหรับ Current Transformer และ รูปที่ 4 สำหรับ Voltage Transformer

 

Fig3

รูปที่ 3 วงจรการสอบเทียบ Current Transformer

 

Fig4

รูปที่ 4 วงจรการสอบเทียบ Voltage Transformer

 

มาตรฐานการวัด Instrument Transformer คือ (1) Reference Current Transformer (2) Reference Voltage Transformer (3) Burden และ (4) Measuring Bridge

โดยห้องปฏิบัติไฟฟ้าแรงสูง สามารถให้บริการสอบเทียบ ได้ดังแสดงในตารางที่ 1 และ 2

ตารางที่ 1 ความสามารถในการให้บริการสอบเทียบ (1)

สาขา พิกัด ค่าความไม่แน่นอน ตัวอย่างเครื่องมือที่สามารถสอบเทียบได้
DC High Voltage (-10 ถึง 100) kV > 0.003 % ระบบการวัดไฟฟ้าแรงสูง

High Voltage Source

High Voltage Divider

High Voltage Meter

High Voltage Probe

AC High Voltage (50 Hz) (10 ถึง 200) kV > 0.4 %
Impulse High Voltage
–          Lightning Impulse (25 ถึง 500) kV > 1.0 %
–          Switching Impulse (20 ถึง 400) kV > 1.0 %

ตารางที่ 2 ความสามารถในการให้บริการสอบเทียบ (2)

สาขา พิกัด ค่าความไม่แน่นอน ตัวอย่างเครื่องมือที่

สามารถสอบเทียบได้

Primary Secondary Ratio Error Phase Displacement
Instrument Transformer
–          Current Transformer (CT) < 1,500 A 1 A หรือ 5 A > 0.01 % > 0.3 min CT

@ 50, 60 Hz

VT

@ 50, 60 Hz

–          Voltage Transformer (VT) < 33 kV 100/√3 V, 110/√3 V, 120/√3 V

100 V, 110 V หรือ 120 V

> 0.01 % > 0.3 min

 

โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ

งานเผยแพร่ทางวิชาการ

  1. ชัชวาล คุรุภากรณ์ และ ดนัย ภัทรกิจกุล, “กรณีศึกษาการทำ Linearity Test สำหรับระบบการวัดแรงดันอิมพัลส์แบบฟ้าผ่า”, Proceeding การประชุมวิชาการ EECON 38, 18-20 พฤศจิกายน 2558
  2. ชัชวาล คุรุภากรณ์ และ ดนัย ภัทรกิจกุล, “High-Voltage Measurement Standard in Thailand”, Proceeding of 2015 The Symposium on Lightning Protection and High Voltage Engineering (ISLH 2015), 12-13 June 2015.
  3. C. Kurupakorn, and D. Pattakijkul, “Development of AC High Voltage Measurement System with Digital Technique at NIMT”, Proceeding of Siam Physics Congress 2015 (SPC 2015), 20-22 May 2015

ติดต่อสอบถาม

ดร.ชัชวาล คุรุภากรณ์ : chatchaval@nimt.or.th

นายดนัย ภัทรกิจกุล : danai@nimt.or.th

โทรศัพท์ 0 2577 5100 ต่อ 1253 หรือ 2109 โทรสาร 0 2577 5093