เวลามาตรฐาน

Download โปรแกรม และวิธีปรับเทียบเวลามาตรฐาน

"เวลา" มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นด้าน การทหาร, การเงิน, การแพทย์, การจราจร, การขนส่ง, การสื่อสาร, การติดต่อธุรกิจ, และอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ ดังนั้น ภารกิจของห้องปฏิบัติการด้านเวลา สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คือ การจัดหา, รักษา และถ่ายทอด มาตรฐานทางด้านเวลา ไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและผู้ใช้บริการต่างๆ พร้อมทั้งได้มีการพัฒนาขีดความสามารถด้านการวัดเวลาและความถี่ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตาม พ.ร.บ.พัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540

1. TAI (International Atomic Time) เป็นเวลาที่ใช้อ้างอิงระหว่างประเทศซึ่งถูกคำนวณที่ สำนักงานชั่ง ตวง วัด ระหว่างประเทศ (BIPM) โดยใช้ข้อมูลจาก นาฬิกา ซีเซียม (Cesium clock) มากกว่า 250 เครื่องซึ่งตั้งอยู่ตามสถาบันมาตรวิทยาของประเทศต่างๆกว่า 50 ประเทศ รวมทั้งสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ประเทศไทย

2. UTC (Coordinated universal Time) คือเวลา TAI ที่ถูกเพิ่ม-ลด วินาที (Leap second) เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาที่ได้จากการโคจรของโลก

3. UTC(NIMT) คือเวลามาตรฐานประเทศไทยได้จากนาฬิกา Cesium ถูกคำนวณโดย BIPM โดยเทียบกับเวลามาตรฐานอ้างอิง UTC ซึ่งมีความไม่แน่นอนอยู่ที่ 20 นาโนวินาที จาก BIPM Circular T.

4. UT-1 (Universal Time) คือเวลาที่เกิดจากการโคจรของโลกซึ่งพัฒนามาจาก UT-0 และถูกแก้ค่า (correct) จากการเปลี่ยนแปลงทาง Longitude ของสถานีสังเกตการณ์ เนื่องจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของขั้วโลก โดยนิยามข้างต้นจะสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นดังรูปที่ 1 ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าเวลามาตรฐานของประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยมีการสอบกลับได้ (Traceability) และส่งผลให้ระบบเวลาของประเทศต่างมีความถูกต้องสอดคล้องกันทั่วโลก

<4D6963726F736F667420576F7264202D20322EE0C7C5D2C1D2B5C3B0D2B9E1C
รูปที่ 1
แสดงขั้นตอนในการคำนวณหาค่า TAI และ UTC

วิธีการปรับเทียบเวลามาตรฐานทาง Internet ผ่านระบบ NTP
(Time Synchronization through Internet by NTP)

การปรับเทียบเวลามาตรฐานทาง Internet ผ่านระบบ Network Time Protocol ( NTP) คืออะไร
NTP Protocol เป็น Protocol ที่ใช้สำหรับปรับเทียบเวลา ( Time Synchronization) ของ Computer โดยอาศัยเครือข่าย Internet เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลเวลามาตรฐานไปยังเครื่องลูกข่าย โดยมีเครื่องแม่ข่าย ( NTP Server) เป็นตัวให้บริการส่งเวลามาตรฐานไปยังเครื่องปลายทางเพื่อปรับเทียบเวลาให้ตรงกลับเวลามาตรฐาน ( Time Standard) ซึ่งเป็นค่าเวลาที่ทาง Time & Frequency Lab. ได้ทำการเก็บรักษาไว้โดยวิธีการเปรียบเทียบกับเวลามาตรฐานของประเทศอื่นๆซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยมีความถูกต้องอยู่ที่ ประมาณ 1 millisecond ในระบบ LAN และประมาณ 10 millisecond ในระบบ WAN นับว่าเป็นความคลาดเคลื่อนที่อยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังง่ายต่อการเข้าถึงของผู้ใช้ทั่วไป แค่เพียงมี PC ที่สามารถเชื่อมต่อ เข้าระบบ Internet ได้ผู้ใช้ก็สามารถที่จะ Synchronize เวลามาตรฐานผ่านระบบ NTP ได้ทันที

BrochureNTP_resize

Brochure : Time Synchronization through Internet by NTP

นอกจากตัว Windows เองแล้วเราสามารถหาโปรแกรมที่เป็น Freeware เพื่อใช้ในการ Synchronization เวลาได้ ยกตัวอย่างเช่น Symmtime ,Dimension4 เป็นต้น ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดการปรับตั้งค่า ได้จากโบรชัวร์นี้

การ Synchronize เวลาผ่านทาง NTP Server ของสถาบันฯ

เนื่องจากที่ห้องปฏิบัติการด้านเวลาและความถี่ ได้มีการจัดตั้ง NTP Server ขึ้นเพื่อให้บริการถ่ายทอดเวลามาตรฐาน ผ่านระบบ Internet ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้นยังมี Software ตัวอื่นที่สามารถใช้งานได้ดีซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://tf.nist.gov/general/softwarelist.htm อย่างไรก็ตามหากผู้สนใจต้องการที่จะปรับเทียบเวลามาตรฐานผ่านทางระบบ Internet โดยใช้ NTP Server ของทางสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สามารถ Synchronize เวลาได้ที่

NTP Server :

  • - time1.nimt.or.th
  • - time2.nimt.or.th
  • - time3.nimt.or.th
  • - time4.nimt.or.th
  • - time5.nimt.or.th

หรือ ติดต่อขอข้อมูลการติดตั้งและวิธีการใช้งานได้ที่ ห้องปฏิบัติการด้านเวลาและความถี่ ฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ 3/4 – 5 หมู่ 3 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ 0 2577 5100-9 แฟกซ์ 0 2577 3658 ได้ทุกวันในเวลาราชการ หรือ Email Address :

icon-alert-a ข้อควรปฏิบัติในการปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทย

  1. ตั้ง NTP Server ของหน่วยงานเอง
  2. ให้เปิด Port 123 ของ Firewall
  3. กำหนดความถี่ในการ Time Synchornization วันละ 2 ครั้ง (เพื่อลด Traffic)

   กระทรวงวิทย์ โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ขยายช่องทางการให้บริการ ส่งเวลามาตรฐานประเทศไทยผ่านคลื่นวิทยุ FM จับมือกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ กองทัพอากาศ และ อสมท. ลุยโครงการถ่ายทอดเวลามาตรฐานประเทศไทยด้วยระบบ FM/RDS ส่งสัญญาณออกอากาศทั่วประเทศ ใครมีเครื่องรับวิทยุซึ่งถอดรหัสสัญญาณได้สามารถเทียบเวลามาตรฐานได้เลย

"เวลา" มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นด้าน การทหาร, การเงิน, การแพทย์, การจราจร, การขนส่ง, การสื่อสาร, การติดต่อธุรกิจ, และอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ ดังนั้น ภารกิจของห้องปฏิบัติการด้านเวลา สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คือ การจัดหา, รักษา และถ่ายทอด มาตรฐานทางด้านเวลา ไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและผู้ใช้บริการต่างๆ พร้อมทั้งได้มีการพัฒนาขีดความสามารถด้านการวัดเวลาและความถี่ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตาม พ.ร.บ.พัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540