นักวิจัยหลังปริญญาเอก (postdoctoral research fellows) ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้วไม่เกิน 5 ปี จะได้รับการพัฒนาและฝึกฝนทักษะ (training) การวิจัยแบบเต็มเวลา (full time research) ภายใต้การดูแลของนักวิจัยพี่เลี้ยงสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) (mentor) และหน่วยงานนักวิจัย
พี่เลี้ยงที่ร่วมโครงการ โดยมีระยะเวลาที่จะได้รับการสนับสนุนเป็นปีต่อปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ดังนั้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจ้างปฏิบัติงานทั้งในลักษณะพนักงาน มว. หรือ พนักงานโครงการ ทั้งนี้ การสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก เป็นการพัฒนาบุคลากร ดังนั้น Intellectual property (IP) จากผลงานการศึกษาวิจัย ถือเป็นของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
- การวิจัยและพัฒนาการวัดทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์
- การจัดทำระบบการวัดและการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ หน่วยวัดใหม่
- การจัดทำระบบเอกสารคุณภาพและดำเนินการตามมาตรฐาน ISO/IEC
การสนับสนุนและสิ่งจูงใจ (incentive)
- ค่าตอบแทน นักวิจัยหลังปริญญาเอกจะได้รับค่าตอบแทนแบบเหมาจ่ายรายเดือน ไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนพนักงานที่โครงการกำหนด และการเพิ่มค่าตอบแทนในปีที่ 2 ซึ่งพิจารณาจากการประเมินผลการปฏิบัติงานวิจัยในปีที่ 1
- ได้รับการดูแลด้านการประกันสุขภาพสำหรับตัวนักวิจัยหลังปริญญาเอก
- มีสิทธิลากิจได้ปีละไม่เกิน 10 วันทำการ ลาป่วยได้ปีละไม่เกิน 60 วันทำการ
- ได้รับสิทธิการใช้ facilities พื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการศึกษาวิจัย
- ได้รับการดูแลเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการเสนอผลงานวิจัย เช่น การฝึกอบรม การสัมมนาวิชาการ
ความคาดหวังผลงานศึกษาวิจัยจากนักวิจัยหลังปริญญาเอก (ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ)
แต่ละปี มว. คาดหวังว่านักวิจัยหลังปริญาเอกจะมีผลงานจากการศึกษาวิจัย ได้แก่ ผลงานในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มี Impact factor อย่างน้อย 1 เรื่อง (อนุโลมให้นักวิจัยหลังปริญญาเอกมีผลงานเป็น Manuscript หรือหลักฐานการยื่นไปยังสำนักพิมพ์ในปีแรกได้) หรือเลขที่คำขอยื่นจดสิทธิบัตรหรือผลงานทางวิชาการอื่นที่เทียบเท่าตามหลักเกณฑ์ของ มว.
คุณสมบัติของผู้สมัครนักวิจัยหลังปริญญาเอก
- เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากทั้งในและต่างประเทศ ไม่เกิน 5 ปี ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกล หรือวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ประยุกต์ หรือ วิทยาศาสตร์ด้านอุปกรณ์การแพทย์ และที่เกี่ยวข้อง
- อายุไม่เกิน 40 ปี นับถึงวันที่ได้รับใบสมัคร
- มีผลงานตีพิมพ์เป็นชื่อแรกในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มี impact factor เป็นที่ยอมรับ อย่างน้อย 1 เรื่อง หรือมีสิทธิบัตร หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าวให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือก
- สามารถศึกษาวิจัยแบบเต็มเวลาที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติและหน่วยงานพี่เลี้ยงนักวิจัยที่ร่วมโครงการ
กลไกการติดตามการประเมินผล การพิจารณาผลการศึกษาวิจัย และการต่อสัญญาว่าจ้าง
- นักวิจัยหลังปริญญาเอก จัดส่งรายงานการศึกษาวิจัยปีละ 2 ครั้ง คือ 6 เดือน และ 11 เดือน ของแต่ละปี
- การติดตาม/ประเมินผลการดำเนินงานวิจัย โดยนักวิจัยพี่เลี้ยง ปีละ 2 ครั้ง
- ทำสัญญาจ้างครั้งละ 1 ปี และต่อสัญญาได้รวมกันคนละไม่เกิน 2 ปี โดยพิจารณาความเหมาะสมเป็นราย
กรณีในการต่อสัญญาปีที่ 2 รวมทั้งการปรับค่าตอบแทน จากผลงานวิจัยและการปฏิบัติงาน (ข้อ 1 และ 2)
ส่งจดหมายแนะนำตัว สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาวุฒิการศึกษา และประวัติการทำงาน ทางอีเมลที่
nattanit@nimt.or.th
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
นางสาวณัฐฐานิต พงศ์จีรกำจร
กลุ่มงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ฝ่ายบริหารกลาง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
3 / 4 – 6 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2577 5100 ต่อ 4229 มือถือ 090 997 2211 โทรสาร 0 2577 2877
E-mail nattanit@nimt.or.th