การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศไปสู่รูปแบบดิจิทัล (24 พฤษภาคม 2566)

24 พฤษภาคม 2566: พล.ต.ท.พรชัย สุธีรคุณ ผู้อำนวยการ มว. เป็นประธานเปิดการประชุม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศไปสู่รูปแบบดิจิทัล เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือ สร้างโอกาสและข้อเสนอที่จะนําไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศสู่รูปแบบดิจิทัล พร้อมทั้งรองรับและผลักดันประเทศไทยให้มุ่งไปสู่สังคมดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจาก บพข. ที่ได้เห็นถึงความสําคัญและจําเป็นในการขับเคลื่อนงาน และสร้างความเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศไปสู่รูปแบบดิจิทัล โดยสนับสนุนงบประมาณในการสร้างเครื่องมือ และความสามารถของระบบมาตรวิทยา และระบบ NQI มาอย่างต่อเนื่อง ผลจากการหารือกันในวันนี้ทำให้เกิดการบูรณาการทำงานที่มีเป้าหมายและมีศักยภาพร่วมกัน เพื่อนําไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศสู่รูปแบบดิจิทัลให้ดียิ่งขึ้นต่อไป การเข้าร่วมประชุมและบรรยายมีทั้งผ่านระบบออนไลน์และห้องประชุม ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ

กิจกรรมการประชุมฯ ในครั้งนี้ได้รับเกียรติการปาฐกถาพิเศษจาก รศ. ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ กรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ เรื่อง “ผลักดันเศรษฐกิจไทย ด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ” และ “Digital transformation of NQI” Dr. Sascha Eichstädt, Chair of IMEKO TC6 and of OIML DTG พร้อมวิทยากรบรรยายพิเศษ ได้แก่ ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ผู้อํานวยการกลุ่มภารกิจพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), คุณภาสพงศ์ อารีรักษ์ ผู้อํานวยการฝ่ายระบบบริหารจัดการของภาครัฐด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.), ดร.นรินทร์ จันทวงศ์ คณะวิจัยโครงการมาตรวิทยาเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ, รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อํานวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมนำเสนอนโยบาย ทิศทาง และแผนการดําเนินงานด้านดิจิทัลของหน่วยงานภายใต้โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ได้แก่ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.), สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.), กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.), สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.), สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.)