วันมาตรวิทยาโลก (20 พฤษภาคม 2562)

วันที่ 20 พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันมาตรวิทยาโลก” ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว จากการลงนามในสนธิสัญญาเมตริก เมื่อปี ค.ศ. 1875 (พ.ศ.2418) ซึ่งสนธิสัญญานี้เป็นพื้นฐานสำหรับระบบการวัดที่สอดคล้องกันทั่วโลกทั้งทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม อุตสาหกรรมการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การป้องกันสภาพแวดล้อมของโลก และเป็นวันที่ประชาคมมาตรวิทยาทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลองปัจจุบันมีสมาชิก 101 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเข้าร่วมเป็นสมาชิก ในปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912)

เมื่อปี พ.ศ. 2561ที่ผ่านมา องค์กรชั่ง ตวง วัด ระหว่างประเทศ (BIPM)  ถือเอาวันนี้เป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของการรณรงค์เพื่อปรับปรุงประวัติศาสตร์ของระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ ที่ประกาศใช้ เมื่อ คศ. 1960 และได้นำมาใช้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการการปรับปรุงนิยามของระบบหน่วยวัด เป็นผลมาจากการวิจัยและพัฒาวิธีการวัดใหม่ที่อาศัยปรากฏการณ์ควอนตัมและกฎทางฟิสิกส์เป็นพื้นฐาน หน่วยวัดที่ปรับใหม่จำนวน 4 หน่วยได้แก่ กิโลกรัม แอมแปร์ เคลวิน และโมล จะถูกกำหนดในรูปของค่าคงที่ Planck constant (h) Elementary Charge (e) Boltzmann constant (k) และ Avogadro Number ( NA) โดยคำจำกัดความของระบบหน่วยวัดทั้ง 7 หน่วย จะกำหนดค่าคงที่ และคำอธิบายถึงการสร้างตัวแทนของหน่วยวัดเพื่อใช้เป็นมาตรฐานของหน่วยวัดนั้นๆ อย่างชัดเจน และทำให้เกิดความคงเส้นคงวาในการปฏิบัติ

หรืออธิบายแบบง่ายนั่นคือ วันนี้นอกจากจะเป็นวันครบรอบจากการลงนามในสนธิสัญญาเมตริกแล้ว ยังเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นวันที่หน่วยวัด (measurement units) เปลี่ยนมาอ้างอิงกับค่าคงที่ หรือลักษณะเฉพาะทางฟิสิกส์ เป็นวันที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สั่งสมมาในช่วงร้อยกว่าปีหลังนี้ได้ถูกนำมาใช้งานในระดับที่ทุกคนเกี่ยวข้องและเข้าถึงได้ นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หน่วยกิโลกรัมที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ในการซื้อขายสินค้า ไปจนถึงการเตรียมสารเคมีในห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง มีจุดอ้างอิงเดียวกันคือค่าคงที่ของพลังค์ (Planck constant) ซึ่งเป็นค่าคงที่พื้นฐานในกลศาสตร์เชิงควอนตัม (quantum mechanics) นอกจากหน่วยกิโลกรัมแล้ว หน่วยฐานทั้งหมดของระบบหน่วย SI ก็เช่นเดียวกัน ในระบบหน่วย SI ใหม่นี้ ใช้การกำหนดค่าให้แก่ค่าคงที่กลุ่มหนึ่ง (7 ตัว) แทนการนิยามหน่วยฐานทั้ง 7 อย่างเป็นอิสระจากกัน

การเปลี่ยนแปลงนิยามหน่วย SI ครั้งนี้ (2019) เป็นการเปลี่ยนที่ท้าทายมาก เพราะเปลี่ยนที่ระดับแนวคิด (concept) และหลักการ (principle)  โดยนำเอาแนวคิดและหลักการของวิทยาศาสตร์ยุคใหม่มาแก้ไขระบบที่สร้างบนแนวคิดและหลักการเดิมที่ต่าง หรือขัดกับแนวคิดและหลักการใหม่อย่างมีนัย ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์อย่างสูงต่อการพัฒนามาตรวิทยาหรือการวัดทางวิทยาศาตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในอนาคต

มาตรวิทยามีบทบาทที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิต การค้าระหว่างประเทศ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการปกป้องสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งภายใต้บริบทของการปรับเปลี่ยนนี้ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวิธีการวัดและมาตรฐานการวัดของประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคการผลิตและบริการในอันที่จะผลิตสินค้า บริการและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ สู่ตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ เพื่อศักยภาพการแข่งขันและเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

ในฐานะสมาชิกมาตรวิทยาของประเทศไทย จึงอยากจะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับข่าวสารความเคลื่อนไหววันมาตรวิทยาโลก โดยในวันมาตรวิทยาโลกนี้ พวกเราในนามของประชาคมมาตรวิทยาทั่วโลก ซึ่งตระหนักถึงการสนับสนุนจากทุกๆ ท่านที่ทำงานทั้งในระดับรัฐบาลและระดับชาติมาตลอดทั้งปี และในโอกาสนี้จึงอยากเชิญชวนประชาคมมาตรวิทยา และผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงวันสำคัญนี้ด้วยกัน การเฉลิมฉลองร่วมกันครั้งนี้ จัดโดย สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (Bureau International des Poids et Measures: BIPM) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด (International Organization of Legal Metrology: OIML) ซึ่งท่านที่สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.worldmetrologyday.org