ดร.จุฑารัตน์ ทานะรมณ์ (มว.) สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต ผ่าน “โครงการศึกษาต่อต่างประเทศของ NMIJ”

ดร.จุฑารัตน์ ทานะรมณ์ นักมาตรวิทยาชำนาญการ กลุ่มงานปฐมภูมิไฟฟ้า เวลา และความถี่ ฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จาก Graduate School of Informatics and Engineering, University of Electro-Communications (UEC) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ผ่านโครงการ Studying Abroad Program ของ NMIJ

ปี 2559 คุณจุฑารัตน์ได้เข้าร่วมโครงการ “บรรยายสรุปเกี่ยวกับการศึกษาต่อต่างประเทศสำหรับบุคลากร มว.” จัดโดย NMIJ เพื่อแบ่งปันข้อมูลความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นและ มว.

ด้วยทุนจากรัฐบาลไทยและความร่วมมือกับ NMIJ คุณจุฑารัตน์ได้รับการตอบรับเข้าเป็นนักศึกษาวิจัยในปี 2560 และเข้ารับการศึกษาระดับปริญญาเอกในปี 2561 ที่ UEC คุณจุฑารัตน์ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 คุณจุฑารัตน์เชื่อมั่นว่าความร่วมมือทางเทคนิคระหว่าง NMIJ และ NIMT มีประสิทธิผลมาก และตั้งตารอที่จะมีความร่วมมือด้านอุปกรณ์ทางควอนตัมเพื่อหาวิธีที่เป็นไปได้ในการทำให้เป็นจริงตามนิยามของ SI Units ระหว่าง NMIJ และ NIMT

และนี่คือข้อความจากอาจารย์ที่ปรึกษาของคุณจุฑารัตน์ ศาสตราจารย์ฮิโรชิ ชิมาดะ จาก Graduate School of Informatics and Engineering, UEC กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

คุณจุฑารัตน์ได้ทำการวิจัยเชิงควอมตัม สร้างและทดลองอุปกรณ์ในระดับนาโนโดยนำกระแสที่เรียกว่า  supercurrent ของทรานซิสเตอร์อิเล็กตรอนเดี่ยวที่ใช้ตัวนำยิ่งยวด (superconducting single electron transistor) ไปใช้งานได้จริงเมื่อรวมเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีตัวนำยิ่งยวดทั่วไป แต่ทรานซิสเตอร์ที่มีค่า supercurrent ขนาดเล็กนั้นเป็นอุปสรรคสำคัญของการนำไปใช้งาน และเพื่อเอาชนะอุปสรรคนั้น จึงได้ทำการศึกษาวิธีการเพิ่ม supercurrent โดยนำทรานซิสเตอร์มาเชื่อมต่อแบบขนานและทำการทดลองหาคุณสมบัติของอุปกรณ์ ยิ่งกว่านั้นเพื่อเป็นการเพิ่มฟังก์ชันใหม่ในการนำไปใช้งาน ยังได้คิดค้นหลักการใหม่ของเครื่องตรวจจับโฟนอนโดยใช้ supercurrent ของทรานซิสเตอร์นี้และได้ทำการทดลองเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของการนำไปประยุกต์ใช้ จากผลการทดลองพบว่าการตรวจจับโฟนอนด้วย supercurrent ของทรานซิสเตอร์นี้มีความไวดีกว่าใช้ทางแยกอุโมงค์ตัวนำยิ่งยวด (superconducting tunnel junctions) ประมาณ 1,000 เท่า ฉันคาดหวังว่าผลการวิจัยของเธอจะถูกนำมาใช้ในการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระแสความร้อนในอุปกรณ์นาโนในอนาคต