มว.จับมือพันธมิตร ระดมสุดยอดนักฟิสิกส์ เปิดพรมแดนความรู้ ย้ำ ควอนตัม game changer พลิกโฉมประเทศไทยสู่ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต

Key message: เนื่องจากการกำหนดมาตรฐานและการวิเคราะห์คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีควอนตัมจำเป็นต้องใช้มาตรฐานการวัดเชิงควอนตัมทั้งสิ้น จึงต้องเตรียมให้พร้อมในเวลาที่เหมาะสมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ และระบบนิเวศ ecosystem ต่างๆ เพราะเทคโนโลยีควอนตัมได้รับการคาดหมายว่าจะเป็น game changer ด้านเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 ความก้าวหน้าของการวิจัย เทคโนโลยีควอนตัมในประเทศไทยในภาพรวม จะยิ่งสร้างความมั่นใจ และดึงดูดการ ลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทคของประเทศได้สูงยิ่งขึ้น

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  โดยความร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม และพันธมิตรด้านการวิจัยเทคโนโลยีควอนตัม ได้ร่วมจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ และการเสวนาวิชาการ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Meeting) เรื่อง “ข้อริเริ่มการวิจัยด้านเทคโนโลยีควอนตัม: ความท้าทาย และโอกาส” ปี 2564 (Quantum Technology Research Initiative: Challenges and Possibilities) ระหว่างวันที่16-17 กันยายน 2564 โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (รอว.) เป็นประธานเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ความสำคัญของการลงทุนด้านการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อพัฒนาความรู้ที่เป็นรากฐานของความก้าวหน้าในอนาคต” เพื่อสร้างฐานคิดและกรอบนโยบายให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้นำไปพิจารณาและวางแผนการปฏิบัติให้สอดคล้องกับการวิจัยขั้นแนวหน้าเพื่อนำไปพิจารณาและวางแผนการปฏิบัติให้สอดคล้องต่อไป

 


ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (รอว.) เป็นประธานเปิดการประชุมและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ความสำคัญของการลงทุนด้านการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อพัฒนาความรู้ที่เป็นรากฐานของความก้าวหน้าในอนาคต”

 

นางอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการ มว. กล่าวรายงาน

ด้านนางอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการมว.กล่าวว่า  มว. มีแนวคิดในการดำเนินการเผยแพร่ความก้าวหน้าด้านการวิจัยมาตรฐานการวัดเชิงควอนตัม เพื่อให้สาธารณชน ผู้ประกอบการและนักลงทุนได้รู้ถึงความก้าวหน้าและตระหนักในความสำคัญของภารกิจด้านนี้ของ มว. เพื่อสร้างความมั่นใจและดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงมายังประเทศไทย รวมทั้งเป็นเวทีหารือระหว่างนักวิจัย และผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากการวิจัยที่เป็นรูปธรรมตั้งแต่ในช่วงเริ่มแรก จึงได้หารือกับพันธมิตรด้านการวิจัยแล้วเห็นว่า การพัฒนามาตรฐานการวัด เชิงควอนตัม เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยขั้นแนวหน้าด้านเทคโนโลยีควอนตัม ซึ่ง อว. ได้ริเริ่มและบรรจุไว้ในนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. (2563 – 2570) และมองว่าการวิจัยเทคโนโลยีควอนตัมสาขาอื่นก็มีความก้าวหน้าที่น่าประทับใจเช่นกัน จึงเห็นพ้องต้องกันว่ากิจกรรมวิชาการเรื่องเทคโนโลยีควอนตัมในภาพรวมน่าจะช่วยให้เข้าใจความสำคัญ และความจำเป็นในการพัฒนามาตรฐานการวัดเชิงควอนตัมชัดเจน เนื่องจากการกำหนดมาตรฐานและการวิเคราะห์คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีควอนตัมจำเป็นต้องใช้มาตรฐานการวัดเชิงควอนตัมทั้งสิ้น เราจึงต้องเตรียมให้พร้อมในเวลาที่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีควอนตัมได้รับการคาดหมายว่าจะเป็น game changer ด้านเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 ความก้าวหน้าของการวิจัย เทคโนโลยีควอนตัมในประเทศไทยในภาพรวม จะยิ่งสร้างความมั่นใจ และดึงดูดการ ลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทคของประเทศได้สูงยิ่งขึ้น

ทั้งนี้การประชุมและการเสวนาทั้ง 2 วัน ประกอบด้วยกิจกรรมสามส่วน ได้แก่ (1) การนำเสนอนโยบายและความก้าวหน้าด้านการวิจัยเทคโนโลยีควอนตัมของ ต่างประเทศ (2) การเสวนาเรื่องแนวคิดและภาพรวมของเทคโนโลยีควอนตัมในประเทศไทย รวมทั้งการนำเสนอผลงานวิจัยที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเทคโนโลยีใหม่ และ (3) การประชุมวิชาการนานาชาติ โดยมีผู้บริหารหน่วยวิจัยเทคโนโลยีควอนตัมและนักวิจัยระดับหัวหน้าโครงการที่ สำคัญของโลกจาก 6 ประเทศ คือ แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ นักวิจัยไทยด้านเทคโนโลยีควอนตัมจากทุกกลุ่มวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หน่วยกำหนดนโยบายและแผนด้านผู้ประกอบการ นวัตกร นักวิชาการและเยาวชน นิสิต นักศึกษา ผู้สนใจเทคโนโลยีควอนตัม

งานวิจัยด้านควอนตัมคือหนึ่งในงานวิจัยขั้นแนวหน้า หรือ Frontier Research https://www.nxpo.or.th/th/frontier-research/ ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนงานวิจัยต่างๆ โดยสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กำหนดประเด็นวิจัยเพื่อตอบโจทย์พื้นฐานที่สำคัญทางสังคม 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอาหาร 2) ด้านสุขภาพ 3) ด้านพลังงาน และ 4) ด้านความมั่นคงและการสื่อสาร  เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยรับมือวิกฤติกาลหรือประเด็นอุบัติใหม่ได้ทันท่วงทีด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

Panel Discussion on Quantum Metrology, Quantum Communication and Quantum Computing in Thailand เป็นช่วงเวลาสำหรับการนำเสนอผลงานภาพรวมจากนักวิจัยไทยด้านเทคโนโลยีควอนตัม และถามตอบกับนักวิจัย